top of page

น้ำหนักของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ควรเป็นเท่าไหร่ ?

น้ำหนักตัวคงเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายท่านเป็นกังวลเมื่ออยู่ในภาวะที่ตั้งครรภ์ แต่เพื่อลูกน้อยเชื่อว่าคุณหลายท่านทำใจได้กับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แต่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ถึงจะเป็นน้ำหนักที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์กันแน่ วันนี้ทาง Momguard NIPT Thailand จะมาไขข้อสงสัยให้คุณแม่ทุกท่านกันค่ะ สำหรับน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำว่า ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ 9 เดือนน้ำหนักจะมีการเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 10-12 กิโลกรัม แต่หากมีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่ถึงเกณฑ์กำหนด ก็มักจะพบว่าทารกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าปกติ หรือทารกน้ำหนักน้อยตัวเล็กผิดปกติ ขณะเดียวกันหากแม่ท้องทานมากจนเกินไป ก็จะส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก จนเกิดปัญหากับการตั้งครรภ์ตามมาได้เช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และลองเช็คดูว่าน้ำหนักในแต่ละช่วงควรเป็นเท่าไหร่

  • ช่วงไตรมาสแรก

โดยเฉลี่ยน้ำหนักตัวของหญิงตั้งครรภ์ จะเพิ่มเล็กน้อยประมาณ 1-2 กิโลกรัม นั่นเพราะเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ขนาดจึงไม่ใหญ่มาก และในแม่ท้องบางคนก็อาจจะยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถทานอาหารได้เท่าที่ควร

  • ช่วงไตรมาสที่สองไปจนถึงต้นไตรมาสที่สาม (อายุครรภ์ 3 – 8 เดือน)

น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือรวมแล้วประมาณ 10 -12 กิโลกรัม ในขณะที่ถ้าเป็นครรภ์แฝด น้ำหนักแม่ท้องจะขึ้นประมาณ 15-20 กิโลกรัม หรือโดยเฉลี่ย 0.7 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

  • ระยะเดือนสุดท้ายก่อนคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์จะน้ำหนักคงที่หรือลดลงบ้างเล็กน้อย ประมาณ 1/2 กิโลกรัม

น้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ แพทย์จะนำมาใช้ดูประกอบในระหว่างที่ฝากครรภ์ แต่สิ่งสำคัญที่มากกว่านั้น คือน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ เพราะจะทำให้ทราบว่าทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ของน้ำหนักหรือไม่ และสัดส่วนในแต่ละอายุครรภ์ได้มาตรฐานหรือไม่ นอกจากนี้การที่น้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์จะขึ้นหรือลง ยังมีปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบร่วมด้วย เช่น โภชนาการ หากได้รับไม่เพียงพอ เกณฑ์ของน้ำหนักการตั้งครรภ์ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และการรับประทานอย่างพอเหมาะไม่มากไปหรือน้อยไปจึงเป็นเรื่องที่ดีที่คุณแม่

แต่ทั้งนี้น้ำหนักที่พอดีควรเป็นเท่าไร คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถประเมินได้ด้วยตัวเอง โดยใช้การคำนวณดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) คือ เอาน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง แล้วนำค่าดัชนีมวลกายที่ได้มาเปรียบเทียบกับน้ำหนัก ตามข้อมูลด้านล่างนี้


BMI < 18.5 (นำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 12.5 - 18.0 กิโลกรัม BMI 18.5 - 24.9 (นำหนักตัวปกติ) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.5 - 16.0 กิโลกรัม BMI 25.0 - 29.9 (นำหนักตัวเกิน) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 7.0 - 11.5 กิโลกรัม BMI ≥ 30 (โรคอ้วน) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 5.0 - 9.0 กิโลกรัม การตั้งครรภ์แฝด น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 15.9 - 20.4 กิโลกรัม


เมื่อคุณแม่ทุกท่านที่ลองตรวจเช็คดูแล้วพบว่าน้ำหนักเกินหรือขาดไปควรปฎิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ค่ะ

  • กลุ่มที่มี BMI <18.5 ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ประเภทเนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ และข้าว ควรเพิ่มปริมาณ มากกว่าก่อนตั้งครรภ์

  • กลุ่มที่มี BMI ≥ 25.0 ควรควบคุมน้ำหนักโดยจำกัดอาหาร ประเภทแป้ง ข้าว เผือก มัน พืชหัว น้ำตาลหรือก๋วยเตี๋ยวเน้นรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง และผักต่างๆ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และส่งผลต่อการคลอดได้


สนใจตรวจดาวน์ซินโดรมติดต่อ "MomGuard Thailand"

Tel: 02-114-7635

Mobile: 091-705-6754

Line: MomguardTH




ดู 291 ครั้ง
bottom of page