พบความเสี่ยงดาวซินโดรม ควรทำอย่างไร?
- Ken Lau
- 5 มิ.ย.
- ยาว 1 นาที

ทำความเข้าใจกับผลตรวจ NIPT
NIPT เป็นการตรวจคัดกรอง ไม่ใช่การวินิจฉัย หมายความว่าผล "ความเสี่ยงสูง" ไม่ได้แปลว่าทารกจะมีความผิดปกติแน่นอน แต่เป็นการบอกว่ามีโอกาสสูงที่อาจเกิดภาวะดังกล่าว
แล้วหากพบความเสี่ยงสูง ควรทำอย่างไรล่ะ?
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
แพทย์จะช่วยอธิบายรายละเอียดของผลตรวจ NIPT และแนะนำแนวทางตรวจเพิ่มเติม เช่น
การตรวจโครโมโซมของพ่อแม่ (ในบางกรณี)
การตรวจอัลตราซาวนด์อย่างละเอียดเพื่อดูพัฒนาการของทารก
การพิจารณาการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
หากต้องการความแม่นยำมากขึ้น แพทย์อาจแนะนำการตรวจที่ให้ผลชัดเจน เช่น
การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) – ตรวจโครโมโซมของทารกโดยตรงจากน้ำคร่ำ ให้ผลแม่นยำกว่า 99%
การตรวจชิ้นเนื้อรก (CVS – Chorionic Villus Sampling) – ตรวจเซลล์รกเพื่อดูความผิดปกติของโครโมโซม
ตั้งสติและดูแลสุขภาพจิตใจ
ความเครียดไม่เป็นผลดีต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย ลองหากำลังใจจากครอบครัวหรือพูดคุยกับคุณหมอเพื่อคลายกังวล วางแผนดูแลครรภ์ที่เหมาะสมและเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดต่อไปตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ
_____________________
MomGuard เข้าใจความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์ และพร้อมอยู่เคียงข้างคุณแม่ทุกคนให้แข็งแรง เพื่อความสุขลูกน้อยในอนาคต
จองคิวตรวจวันนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยของคุณจะเริ่มต้นชีวิตได้อย่างแข็งแรง
_____________________
สอบถามรายละเอียดและปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
Tel. 02-579-1965
Mobile: 091-705-6754
LINE OA: @momguard https://lin.ee/vkxKIDS
IG: momguard_nipt
สามารถเข้าตรวจได้ที่ STC ทั้ง 2 สาขา:
STC Clinic เสนานิคม 1 ที่จอดรถฟรี – https://maps.app.goo.gl/CiG5dLiQJdTc2KzY6
STC Clinic สาขาสุขุมวิท 39 อาคาร BioHouse – https://maps.app.goo.gl/rsyhvbL2spX9oLKp9
Comments